เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ (process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (Product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (Process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่
1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศหรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น
2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์
3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่
เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ แนวคิดกระบวนการและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา1.นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษา
- ปัญหาด้านผู้สอน
- ปัญหาด้านผู้เรียน
- ปัญหาด้านเนื้อหา
- ปัญหาด้านเวลา
- ปัญหาเรื่องระยะทาง
2. เพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอนและเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษา
ประเภทของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. วัสดุอุปกรณ์ (Hardware) เช่น ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม ภาพยนตร์ วิดิทัศน์ สไลด์
เครื่องฉายข้ามศีรษะ คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง
2. นวัตกรรมที่เป็นเครื่องมือ เช่น ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง
3. นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นวิธีการ เช่น การสอนแบบต่างๆ แบบเรียนสำเร็จรูป RIT
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาบทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
1. บทบาทด้านการจัดการ เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา
2. บทบาทด้านการพัฒนาเป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน
3. บทบาทด้านทรัพยากร. ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources) ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ
4. บทบาทด้านผู้เรียนเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่งเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
“นวัตกรรม (Innovation) คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม”
องค์ประกอบหลักของนวัตกรรมการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. สถานการณ์ปัญหา (Problem Base)
2. แหล่งเรียนรู้ (Resource) 3. ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) 4. การโค้ช (Coaching) 5. การร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaboration)
2. แหล่งเรียนรู้ (Resource) 3. ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) 4. การโค้ช (Coaching) 5. การร่วมมือกันแก้ปัญหา (Collaboration)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการ ทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการ ทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักการพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาการเรียน
การจะพิจารณานำนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในวิชา หรือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดๆ ควรยึดหลักสำคัญ ดังนี้
1) ตรงกับปัญหาหรือจุดพัฒนาของวิชานั้นเพียงใด
2) มีความสอดคล้องกับธรรมชาติวิชาหรือไม่
3) สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้หรือไม่
4) มีหลักฐานน่าเชื่อถือว่าเคยใช้ได้ผลดีมาแล้วหรือไม่
นวัตกรรมการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovatioหมายถึงการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
1) นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2) นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3) บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
4) บทเรียนน่าสนใจ
5) ลดเวลาในการสอน
6) ประหยัดค่าใช้จ่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดังนี้
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3. ช่วยให้เก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้สะดวก ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บ ประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
5. ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้สะดวก ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลา
ลักษณะสารสนเทศ
· ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
· ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
· ความถูกต้อง (accuracy)
· ความเชื่อถือได้ (reliability)
· การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
· ชัดเจน (clarity)
· ระดับรายละเอียด (level of detail)
· รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
· สื่อการนำเสนอ (media)
· ความยืดหยุ่น (flexibility)
· ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
· ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
· การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
· มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
· ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
· การมีส่วนร่วม (participation)
· การเชื่อมโยง (connectivity)
ข้อดีของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายกำหนดไว้ดังนี้
1.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
2.เพิ่มผลผลิต
3.เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า
4.ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต
5.สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้
6.สร้างโอกาสทางธุรกิจ
7.ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง
ข้อเสียของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายกำหนดไว้ดังนี้
1.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
2.เพิ่มผลผลิต
3.เพิ่มคุณภาพบริการลูกค้า
4.ผลิตสินค้าใหม่และขยายผลผลิต
5.สามารถสร้างทางเลือกเพื่อแข่งขันได้
6.สร้างโอกาสทางธุรกิจ
7.ดึงดูดลูกค้าและป้องกันคู่แข่ง
1.วงจรชีวิตของระบบสารสนเทศ เป็นระบบที่มีวงจรชีวิตค่อนข้างจำกัด อาจจะอธิบายได้ว่า เนื่องจาการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วยหรือ การเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริหาร ก็อาจจะต้องเปลี่ยนระบบสารสนเทศไปด้วย
2.ลงทุนสูง เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีราคาแพง และส่วนมากไม่อาจจะนำไปใช้ได้ทันที แต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเสียก่อนจึงจะใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3.ก่อให้เกิดช่องว่างเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดช่องว่างในการรับข่าวสารระหว่างคนจนกับคนรวย
4.ผลกระของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคมมนุษย์